วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ

เรื่อง  บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ


  วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์คสรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สนองความสนใจของเด็ก ควรได้รับประสบการณ์ตรง 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน 
        สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา ประการดังนี้ 
                                             1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
                                             2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
                                             3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
 
 เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ 

                                     1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ 
                                     2.ดำเนินการหาความรู้ด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแบบที่กำหนดให้ 
                                     3.เข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 
                                     4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย 
                                     5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 
                                     6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 

                                     1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม 
                                     2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจ ด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาในการถาม การหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง 
                                        3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ 
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด 
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 

         การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้ 
1.เราต้องการค้นหาอะไร 
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้ 
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง 
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 

จะเอาไปใช้อย่างไรApplying)
    จากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546 
สรุปงานวิจัย

งานวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

งานวิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    การศึกษาระดับ   มหาบัณฑิต

ผู้วิจัย เอราวรรณ ศรีจักร


บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
ประเด็นที่ วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต
ประเด็นที่2 วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge basedsocietyคนทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ 
ประเด็นที่3  การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูใช้ประสบการณ์การคิดและปฏิบัติ
ประเด็นที่4  เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 5 ปีมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีความเชื่อว่า ทุกอย่างมีชีวิต(animism) มีความรู้สึกและเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุ่งหมาย (purposivismและชอบตั้งคำถามโดยใช้คำว่า “ทำไม”
ประเด็นที่5  การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัส (Sensory Motor) เป็นหลักการเรียนรู้(Piaget. 1969) สื่อสำหรับเด็กในการเรียนรู้มีหลายชนิด สื่อแต่ละชนิดสามารถปรับใช้ได้กับหลายจุดประสงค์
ประเด็นที่แบบฝึกทักษะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาและทักษะต่างๆ มีรูปแบบ วิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ์ โดยมีคำสั่งของแต่ละกิจกรรมตามเนื้อหาจุดประสงค์ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ซึ่งเป็นแบบฝึกเกี่ยวกับภาพ ครูจะใช้ประกอบขณะเด็กทำกิจกรรมหรือตอนสรุปการเรียน



ความมุ่งหมายของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ     วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ


ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย 
ตัวเเปรอิสระ/ตัวเเปรต้น คือ  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
ตัวเเปรตาม/ตัวจัดกระทำ ได้เเก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
       1. สังเกต
       2. จำเเนกประเภท
       3. สื่อสาร
       4. การลงความเห็น
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.   เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
 2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใช้ความคิด การค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ ในการวิจัยนี้จำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
   3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
  3.2 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
   3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกต การทดลอง เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
   3.4  การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
4. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง งานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ ของรศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำ ได้รับประโยชน์จริง ดังนี้
ขั้นนำ เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน
ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทำชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
ขั้นสรุป เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้นๆ
5. ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain - Based Learning)สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะจำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์ และโลกของเรา


สมมุติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ มีการพัฒนา
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

บทที่ 3
ประชากร  ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2

วิธีดำเนินการวิจัย
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน

                                                              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้มีดังนี้
1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain -
Based Learning) ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

การดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 10สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ และวันศุกร์ ในช่วงเวลา 08.00 - 11.30 น. ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ใช้สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 10 ระยะเวลาในการประเมินจากเด็กจำนวน 15 คน ใช้เวลาในการทำแบบประเมินคนละ 5 ข้อ ข้อละ 2 นาที รวม10 นาที ต่อเด็ก 1 คน การประเมินในแต่ละวันให้เด็กทำตามการจำแนกรายด้านดังนี้
                                                       วันจันทร์ ชุดที่ 1 การสังเกต 5 ข้อ
                                                       วันอังคาร ชุดที่ 2 การจำแนกประเภท 5 ข้อ
                                                       วันพุธ ชุดที่ 3 การสื่อสาร 5 ข้อ
                                                       วันศุกร์ ชุดที่ 4 การลงความเห็น 5 ข้อ
  สำหรับระยะเวลาในการทดลองใช้ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันจันทร์วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 30 นาที รวม 24 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 09.00 - 09.30 น.
โดยมีขั้น ตอนดังนี้
1.จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2.ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)ก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 4 วัน และบันทึกผลของข้อมูลในแต่ละข้อของเด็กแต่ละคนเพื่อนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บเป็นคะแนนข้อมูลพื้นฐานชุดที่ 1
3.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ในระยะเวลาระหว่าง 09.00 - 09.30 น. ของวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2550ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ผู้วิจัยดำเนินขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามตาราง 3ดังนี้

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ ดังนี้
1. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลัง การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและจำแนกรายทักษะ โดยใช้ค่าแจกแจง แบบDependent Samples

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาความเที่ยงตรงของแบบประเมินโดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับพฤติกรรม (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 117) ดังนี้
2. หาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก
3. การหาค่าอำนาจจำแนกโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบพอยท์ - ไบซีเรียล (Point biserial correlation)
4.  หาค่าความเชื่อมัน่ ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของด็กปฐมวัย โดยใช้สูตร KR - 20 ของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson)

สรุปผลการวิจัย
1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะคือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือทักษะการจำแนกประเภท
2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป 1. วิธีการเลือกชุดแบบฝึกทักษะ ควรพิจารณารูปภาพประกอบที่ดูเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนเป็นภาพขนาดใหญ่ และภาพในหน้าด้านซ้ายกับด้านขวาของชุดแบบฝึกทักษะ ไม่ควรเป็นภาพเดียวกัน ซึ่งมีคำชี้แจงหรือคำสั่งที่แตกต่างกัน เพราะจะทำให้เด็กสับสน เนื่องจากเด็กวัย 4 - 5 ปีบางคน ยังไม่รู้จักตัวเลขที่ระบุอยู่บนหน้ากระดาษของแบบฝึกทักษะ
2.ศึกษาชุดแบบฝึกทักษะเพื่อกำหนดหัวเรื่องตามมโนทัศน์ของแต่ละแบบฝึกทักษะที่จะนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ชัดเจนก่อนการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะตามการวิจัยนี้ครูควรให้ความสำคัญในการวางแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้ทั้งเนื้อหาสาระและพัฒนาการเด็ก
4. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะตามการวิจัย ครูจำเป็นต้องคิดและวางแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับอายุและสิ่งที่เด็กควรรู้ตามหลักสูตรการศึกษาอย่างหลากหลาย โดยจัดอย่างเหมาะสมกับบริบททางสังคมของเด็ก และใช้แบบฝึกทักษะเป็นตัวทบทวนหรือย้ำการเรียนรู้
5. การจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบชุดแบบฝึกทักษะต้องมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนเด็กที่ทำกิจกรรม ซึ่งมีคำอธิบายในแต่ละเรื่องของแบบฝึกทักษะที่กำหนดไว้ให้เป็นต้นแบบแล้ว โดยเฉพาะสื่อของจริงมีความหลากหลายทางด้านรายละเอียดรูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส กลิ่น สี รสชาติ ซึ่งจะมีผลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี
6. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ครูต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยจัดให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยความคิด แสดงออก การทำกิจกรรมกลุ่ม ได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง และรู้ความก้าวหน้าของตนเอง
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป  1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการสอนที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะกับรูปแบบการสอนอื่นๆ ที่พัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.ควรมีการศึกษาการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะด้านอื่นๆเช่น ด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษาไทย ด้านภาษาอังกฤษ ว่าสามารถส่งผลต่อตัวแปรด้านใดด้านหนึ่งของเด็กปฐมวัยหรือไม่
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป  3. ควรมีการศึกษาเชิงสำรวจเกี่ยวกับค่านิยมหรือความต้องการในการเลือกซื้อชุดแบบฝึกทักษะด้านต่างๆ มาสอนลูกที่บ้านของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
4. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติกับการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
                                                      สื่อของเล่น " กล้องเรือดำน้ำ "








อุปกรณ์

1.กล่องกระดาษ หรือ ฟิวเจอร์บอร์ด

2.กระจก 2 แผ่น ขนาด 2*2 นิ้ว

3.กระดาษแข็ง

4.กาว / คัชเตอร์



วิธีทำ

1.ตัดกระดาษให้มีความกว้างกว่ากระจกเล็กน้อย  แล้วนำกระจกติดลงบนกระดาษ ทั้ง 2 แผ่น

2.ตัดหน้ากล่องกระดาษออกขนาดเท่ากระจกด้านบนและล่างออกตรงข้ามกัน

3.กรีดข้างกล่องทั้ง 2 ด้าน เป็นมุม 45 องศา ทั้งบนและล่าง

4.นำกระจกมายึดกับกล่องกระดาษโดยหันหน้าออกนอกกล่องทั้งบนและล่างของกล่อง

5.ตกแต่งกล้องเรือดำน้ำให้สวยงาม



หลักการทางวิทยาศาสตร์

        การที่เราสามารถมองเห็นภาพที่อยู่อีกด้านหนึ่งของกล้องได้นั้น  เป็นเพราะแสงสามารถเดินทาง

สะท้อนกระจกแผ่นที่ 1 ที่เป็นมุม 45 องศา แล้วเกิดแสงสะท้อนไปยังกระจกแผ่นที่ 2  ซึ่งจะสะท้อนเป็น

มุม 45 องศาเช่นเดียวกันและไปสู่สายตาของคนมอง  จึงให้คนที่มองอีกด้านหนึ่งสามารถมองเห็นไปอีก

ด้านหนึ่งได้


บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30-17.30

ความรู้ที่ได้รับ
แผนการสอนหน่วย ไก่
  • วันจันทร์ เรื่อง สายพันธ์
  • วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
  • วันพุธ เรื่อง การดำรงชีวิต
  • วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์และฑโทษ
  • วันศุกร์ เรื่อง( Cooking) แซนวิชไก่
ตัวอย่างการสอน
วันจันทร์ เรื่อง สายพันธุ์ของไก่
 สอนเรื่องสายพันธ์ไก่


วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เด็กจำแนกสายพันธ์ของไก่ได้
2.เพื่อให้เด็กสังเกตความเหมือนและความต่างของไก่แต่ละสายพันธ์


สาระที่ควรเรียนรู้

ไก่มีหลายสายพันธ์มีไก่ชน ไก่ฟ้า ไก่แจ้ ไก่ป่า ไก่บ้าน มีลักษณะ สี ขนาด แตกต่างกัน

ประสบการณ์สำคัญ

1.สังเกตความแตกต่างของไก่
2.จำแนกไก่แต่ละสายพันธ์ได้


กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1. ครูพาเด็กๆอ่านคำคล้องจองไก่
2.ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีไก่สายพันธ์ใดบ้าง
3.ครูถามเด็กว่านอกจากนี้ยังมีไก้สายพันธ์ใดที่เด็กๆรู้จักอีกบ้าง

ขั้นสอน
4.นำเล้าไก่ออกมาแล้วถามเด็กว่าในเล้ามีอะไรอยู่
5.หยิบไก่ออกมาจากเล้าแล้วถามเด็กๆว่า ''เด็กๆรู้ไหมว่านี่คือไก่สายพันธ์ใด''
6.เมื่อนำไก่ออกมาจากเล้าหมดแล้วให้เด็กๆช่วยนับไก่และหยิบตัวเลขมากำกับ
7.ให้เด็กแยกไก่ชนออกมาจากกองไก่แจ้และไก่ฟ้า
8.ครูถามเด็กๆว่าไก้สายพันธ์ไหนมากที่สุด และเด็กๆรู้ได้ไงว่ามากที่สุด
9.ครูพาเด็กๆพิสูจน์ด้วยวิธีการนับออก 1ต่อ1 โดยให้เด็กๆออกมาหยิบไก่โดยเหลือไก่สายพันธ์หนึ่งที่เหลืออยู่

ขั้นสรุป
10.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าไก่ที่เหลือสายพันธืสุดท้ายคือไก่ที่มากที่สุด
11.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กรู้จักไก่สายพันธืใดบ้าง

สื่อ 

1. ชาร์ตคำคล้องจองไก่
2. เล้าไก่
3.รูปภาพไก่ชน
4.รูปภาพไก่แจ้
5.รูปภาพไก่ฟ้า
6.ตัวเลข


การวัดและประเมินผล

สังเกตการสนทนาและตอบคำถาม


การบูรณาการ

1. ภาษา
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์




และต่อไปเป็นการสอนของเพื่อนๆกลุ่มอื่นๆ 

ตัวอย่างการสอน เรื่องนม วันอังคาร








หน่วยข้าว วันพุธ





หน่วยกล้วย  วันพฤหัสบดี









หน่วยน้ำ วันศุกร์
น้ำอัญชันน้ำผึ้งมะนาว




       
          การสอน หน่วย ส้ม โดยสอนผ่านการสอนแบบ STEM




ประยุกต์ใช้ 
เราสามารถนำการสอนนี้ไปใช้ในเวลาฝึกสอน โดยเฉพาะการสอนแบบSTEM คือได้แนวคิดเยอะมาก

ประเมินตนเอง
ตั้งใจและดูทุกๆกิจกรรมและมีส่วนร่วม

ประเมินเพื่อน
ตั้งใจและมีส่นร่วมทุกคน

ประเมินอาจารย์
คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำ