วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559
เวลา (13.30-17.30)


Knowledge(ความรู้)
  • ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย(อายุ 3-5 ปี)



  • ทฤษฎีการเรียนรู้
-การทดลองของพาฟลอฟ




-การทดลองของวัตสัน


ทฤษฎีของธอร์นไดค์
     ทฤษฎีลองผิดลองถูก
     การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
  

-ทฤษฏีการเรียนรู้ของ Bloom



-ทฤษฎีของบรูเนอร์
     ความรู้ถูกสร้างโดยประสบการณ์
     ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
     ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นจากแง่มุมต่างๆ
     ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
     ผู้เรียนเลือกเนื้อหา/กิจกรรมเอง
     เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม



       ฟรอยด์ ( Freud )
    1. ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ 
    2. หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพีงพอจะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจ ส่งผลประสบการณ์ลต่อพัฒนาการของเด็กการปฏิบัติการพัฒนาเด็ก 
    3. ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าที วาจา 
    4. จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหายาก
    5. จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
    • อิริคสัน ( Erikson )
    1. ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
    2. ด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
    3. การปฏิบัติการพัฒนาเด็กจัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ
    • เพียเจท์ ( Piaget )
    1. พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว
    2. เด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
    3. มีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น

    พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( 0-6 ปี )
            1) ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว วัย 0-2ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
            2) ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2-6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
    1. การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
    2. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
    3. จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ
    4. จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
    5. จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวและมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม
    • ดิวอี้ ( Dewey )
    1. เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก 
    2. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ 
    3. พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู 
    4. จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ
    • สกินเนอร์ ( Skinner )
    1. ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กสนใจที่ทำต่อไป
    2. เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
    3. การปฏิบัติการพัฒนาเด็กให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ 
    4. ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
    • เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi )
    1. ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา 
    2. เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
    3. เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
    4. การปฏิบัติการพัฒนาเด็กจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้ความรักให้เวลาและให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
    • เฟรอเบล ( Froeble )
    1. ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อย่างเสรี 
    2. การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก 
    3. การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก 
    4. จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
    • เอลคายน์ ( Elkind )
    1. การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เด็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
    2. เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
    3. การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
    4. จัดบรรยายกาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
    5. การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย





บันทึกอนุทินครั้งที่ 2วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2559เวลา (13.30-17.30)


เด็กปฐมวัย 

- เด็กตั้งแต่แรกเกิน จนถึง 5ปี 11เดือน 29 วัน
-พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง พัฒนาการจะบ่งบอกถึงความสามารถของเด็ก ที่ทำได้ในระดับอายุ 
-การเลียนแบบ/การอยากรู้อยากเห็น การเลียนแบบเป็นการสะท้อนออกมาจากพัฒนาการ

การเรียนรู้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เพื่อเป็นการอยู่รอด แรกเกิด -2 ปี 4-6ปี ยังพูดไม่ได้เป็นประโยค เพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการคิด 

ความรู้เดิม > ปรับตัว  >ความรู้ใหม่ 

การประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาไปใช้และไปสังเกตเด้กได้ว่าพฤติกรรมที่เด็กทำเป็นการเลียนแบบหรือเด็กทำแล้วเด็กต้องการอะไร

ประเมิน 

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังและเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนตั้งใจฟังและช่วยกันระดมความคิด
ประเมินอาจารย์ 
ตั้งใจสอนและทำความเข้าใจให้มากที่สุดและลึกซึ้ง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1 (ชดเชย)
วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2559
เวลา 13.30-17.30

ความรู้ที่ได้รับ 

 แนวการเรียน
 และอาจารย์ได้แจ้งเกี่ยวกับการทำบล็อกเป็นภาษาอังกฤษ ว่าในบล็อกต้องมีอะไรบ้าง

และอาจารย์ก็ได้ถามเกี่ยวกับวิชาที่สอน และถามลงไปอีกว่าวิทยาศาสตร์มันคืออะไร ทุกคนต่างๆหาคำตอบกันอย่างสนุกสนาน



การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิทยาศาสตร์ก็คือ  การศึกษาสืบค้นข้อมูลความจริงที่้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การทดลอง การใช้เหตุผล การสำรวจ การแก้ปัญหา การวิเคราห์ การสรุปผล เป็นค้น เพื่อให้ได้ความรู้และข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์




นิยามของวิทยาสตร์ก็คือ 

- สมมุติฐาน
- สังเกต
- ทดลอง 
- สำรวจ
- วิเคราะห์
- ขอบเขตเนื้อหา
- สรุป
เรียกรวมๆว่า วิธีการ 

และการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัน ในเรื่อง โลก ดาราสตร์ หรือสิ่งรอบตัว  สาระสำคัญมีดังนี้

1.ธรรมชาติรอบตัว
2.สิ่งต่างๆรอบตัว
3.บุคคลและสถานที่
4.ตัวฉัน

และสิ่งที่สอนต้องเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กและมีผลกระทบกับเด็กและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใขขณะนั้น

วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง
 แนวคิดพื้นฐาน 

1.การเปลี่ยนแปลง
2.การปรับตัว
3,ความแตกต่าง
4.พึ่งพาอาศัย
5.ความสมดุล

และเครื่องมือในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ ภาษา และ คณิตศาสตร์ 


เจตคติทางวิทยาศาสตร์

1.อยากรู้อยากเห็น/ช่างสังเกตฝทดลอง
2.มีความเพียรพยายาม
3.ละเอียดรอบคอบ/มีระเบียบ
4.มีความซื่อสัตย์
5.มีเหตุผล
6.ใจกว้าง


ความสำคัญของวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อการดำรงชีวิตทำให้สะดวกสบาย สำคัญการสร้างเสริมประสบการณ์ให้ประโยชน์ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง


การประยุกต์ใช้ 
ก่อที่จะเริ่มสอนเราสามารถรู้ได้ว่าเด็กต้องการอะไร เราสามารถให้เด้กเรียนรู้อะไรบ้าง 

ประเมิน 
ประเมินตนเอง 
ตั้งใจเรียนขณะที่ครูสอน 
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆสนุกในการเรียน ตอบคำถามกันสนุกมาก
ประเมินอาจารย์
ตั้งใจสอน ถามเด็กตลอด และเอาใจใส่